https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
8 ทักษะที่สำคัญในปี 2564
กลับš


 8 ทักษะที่สำคัญในปี 2564


การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้สร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจโลกและส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและการดำรงชีวิตจำนวนมาก การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคมนี้ได้ทำลายตำแหน่งงานนับล้านและยังทำให้องค์กรหลายล้านแห่งตกอยู่ในความเสี่ยง “รายงานอนาคตของงานในปี 2020” โดย World Economic Forum กล่าวว่างาน 85 ล้านตำแหน่งอาจซ้ำซ้อนกันและ 50% ของพนักงานทั้งหมดจะต้องปรับตัวไปสู่ทักษะใหม่ภายในปี 2568 ซึ่งความต้องการคนในทักษะใหม่นี้จะเพิ่มขึ้นถึง 1 พันล้านคนภายในปี 2573 ซึ่งทักษะที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในปี 2564 ได้แก่ :



1. การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Analytical thinking & Complex problem solving)

คือ ความยืดหยุ่นทางจิตใจในการแก้ปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนและสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นายจ้างกว่า 60% ระบุว่าการแก้ปัญหาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจจ้างงานที่ดี ทักษะการแก้ปัญหามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน


2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการวิเคราะห์ (Critical thinking and Analysis)

การเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การใช้ตรรกะ เหตุและผลในการวิเคราะห์ข้อมูลจริง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ นำไปสู่แนวทางการดำเนินการใหม่ๆ ทักษะนี้จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาสิ่งใหม่ที่สามารถ ขจัดปัจจัยต่างๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อความเติบโตขององค์กร ทั้งในด้านการเงิน กระบวนการ ประสิทธิภาพการทำงาน ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ และการปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย


3. ทักษะด้านนวัตกรรม (Innovation)

มีความยืดหยุ่นทางความคิดและการปรับตัว พร้อมที่จะคิดแตกต่าง มองเห็นรูปแบบและความเชื่อมโยงใหม่ๆ เป็นทักษะที่นายจ้างให้ความสำคัญเนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาองค์กรและการเติบโต จำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยี การคิดค้นสิ่งใหม่ หรือการพัฒนากระบวนการอย่างสร้างสรรค์จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงไปสู่การตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้า


4. ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์ [EI] หรือ Emotional Quotient [EQ]

เป็นทักษะที่เหล่านายจ้างให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน และการจัดการอารมณ์ โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์อย่างมืออาชีพ และการติดต่อระหว่างบุคคล EI เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการปรับพฤติกรรมไปตามกลุ่มบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ทั้งเพื่อร่วมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัว


5. ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation)

เป็นทักษะที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งแต่ การพูดคุยกันเพื่อหาข้อสรุปในที่ประชุมกลุ่มย่อย ไปจนถึงการเจรจาต่อรองกันทางธุรกิจ ดังนั้น หากคนมีทักษะในการเจรจาต่อรองที่ดีเท่าไหร่ผลลัพธ์ขององค์กรก็มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน


6. ภาวะผู้นำ (Leadership)

เป็นความสามารถในการกระตุ้นจูงใจสมาชิกในทีม เพื่อให้สร้างประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด ความเป็นผู้นำที่นั้น เกี่ยวข้องกับความสามารถในการมอบหมายงาน และการมีรูปแบบในการบริหารงานอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วและเฉียบคม ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน


7. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

การมีมุมมองต่อปัญหาที่แตกต่างออกไป จะทำให้เกิดวิธีในการแก้ปัญหาใหม่ อันจะส่งผลดีต่อองค์กร ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดการกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้วยการเชื่อมโยงสิ่งที่มีความแตกต่างกัน เกิดเป็นแนวคิดและมุมมองใหม่ๆ


8. ความคล่องตัวในการเรียนรู้ (Learning Agility)

คือ ความสามารถในเข้าใจตนเองว่ายังไม่รู้อะไร พร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน มองสิ่งที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนเป็นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ


แม้ว่าทักษะข้างต้นจะเป็นสิ่งที่นายจ้างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ยังมีทักษะอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึงด้วย เช่น ทักษะด้านการสื่อสาร การมุ่งลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทักษะดิจิทัล และความรู้ด้านการเงิน ซึ่งเป็นทักษะที่มีความต้องการในตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน


Source: www.peoplemattersglobal.com